วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

อายุทางธรณีวิทยา

อายุทางธรณีวิทยา
รูปแสดงซากดึกดำบรรพ์ของหอยที่จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดหนองบัวลำภู นักธรณีวิทยาทำการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตประกอบกับการเรียงลำดับชั้นหินที่พบซาก ดึกดำบรรพ์ชนิดนั้น และนำมาจัดหมวดหมู่ ทำให้นักธรณีวิทยามีความรู้เพิ่มขึ้นในเรื่องวิวัฒนาการของสัตว์หลายเซลล์และสัตว์ชั้นสูงที่เกิดขึ้นบนโลกเมื่อประมาณ 545 ล้านปีที่ผ่านมา   นักธรณีวิทยาแบ่งอายุของโลกออกเป็นช่วงๆ เรียกว่า ธรณีกาล (geologic time) โดยใช้เหตุการณ์และการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยาและการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของโลกเป็นหลักในการแบ่งประกอบกัน โดยแบ่งเป็นยุคต่างๆ แต่ละยุคจะมีสิ่งมีชีวิตที่มีชีวิตในยุคหรือช่วงเวลานั้นๆ

ตารางธรณีกาล

ตารางธรณีกาล (Geologic time scale)
             จากร่องรอยและซากดึกดำบรรพ์ของพืชและสัตว์ที่ได้มีการค้นพบในชั้นหินของเปลือกโลก
ในที่ต่าง ๆ เราสามารถนำมารวบรวมและอธิบายประวัติความเป็นมาของโลกได้ ทำให้ทราบถึงลำดับและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตจากชีวิตแรกเริ่มในบรมยุคโพรเทอโรโซอิกจนถึงยุคปัจจุบัน
            หน่วยเวลาที่ใหญ่สุดตามมาตราธรณีกาลเรียกว่า บรมยุค (Eon) โลกของเราประกอบด้วย 3 บรมยุคได้แก่ บรมยุคคริปโทโซอิก (Cryptozoic) หรือ อาร์ดีโอโซอิก (Archaeozoic) หรืออะโซอิก (Azoic) เป็นบรมยุคที่มีหินเก่าสุดบรมยุคโพรเทอโรโซอิก(Proterozoic)เป็นบรมยุคของสิ่งมีชีวิตแรกเริ่มและบรมยุคฟาเนอโรโซอิก(Phanerozoic)เป็นบรมยุคของสิ่งมีชีวิตที่มองเห็นได้ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีซากดึกดำบรรพ์แพร่หลาย
            นักธรณีวิทยาได้จำแนกบรมยุคฟาเนอโรโซอิกออกเป็น 3 มหายุค (Era) ได้แก่ มหายุคพาลีโอโซอิก (Paleozoic)เป็นช่วงของชีวิตเก่า มหายุคมีโซโซอิก  (Mesozoic) เป็นช่วงของชีวิตกลาง (หรือเรียกยุคของไดโนเสาร์) และมหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic) เป็นช่วงเวลาของชีวิตใหม่ในแต่ละมหายุคจะถูกแบ่งออกเป็นยุค (Periods) ต่าง ๆ และแต่ละยุคจะแบ่งย่อยออกเป็น
หน่วยเล็ก ๆ เรียกว่า สมัย (Epochs) เส้นแบ่งมหายุค ยุค และสมัยออกจากกันนั้นขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในอดีต เช่นการเปลี่ยนแปลงของชนิดหรือเผ่าพันธุ์ของพืชหรือสัตว์ และการเกิดกระบวนการเกิดเทือกเขา ตัวอย่างเช่น การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ถูกใช้เป็นตัวแยกมหายุคมีโซโซอิกออกจากมหายุคซีโนโซอิก และยุคควอเทอร์นารี (Quaternary Period) จะถูกแบ่งออกเป็นช่วงต้นคือ สมัยไพลส์โตซีน (Pleistocene Epoch) และช่วงปลายคือสมัย โฮโลซีน  (Holocene Epoch) ซึ่งก็คือยุคปัจจุบันที่เรากำลังอาศัยอยู่นี้เอง      การเริ่มต้นของสมัยไพลส์โตซีนจะเริ่มตั้งแต่การเกิดของธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่เคลื่อนตัวลงมาจากขั้วโลกเหนือลงมาปกคลุมทวีปอเมริกาและทวีปยุโรป ซึ่งจะกลายเป็นยุคน้ำแข็ง (Great Ice Age) ในช่วงสมัยไพลสโตซีน ส่วนสมัยโฮโลซีนจะเริ่มขึ้นเมื่อธารน้ำแข็งต่าง ๆ เหล่านี้ถดถอยไปจากทวีปอเมริกาและยุโรป ซึ่งเริ่มเมื่อ 10,000 ปีมาแล้ว


                อายุที่วัดได้ของหินยุคต่าง ๆ ตามที่ปรากฏในมาตราธรณีกาลได้มาจากการคำนวณโดยวิธี ต่าง ๆ กัน แร่บางชนิดในหินอัคนีมีธาตุกัมมันตรังสียูเรเนียมและธอเรียม ซึ่งจะแตกตัวตามธรรมชาติด้วยอัตราที่คงที่จนได้ตะกั่วในขั้นสุดท้าย ถ้าเราทราบอัตราการสลายตัวก็สามารถหาอายุของชั้นหินนี้ได้ โดยการหาอัตราส่วนของปริมาณยูเรเนียมและปริมาณตะกั่วที่มีอยู่ในหินนั้น




ไดโนเสาร์ไทย

นานมาแล้วที่เราทุกคนยังไม่รู้ว่าไดโนเสาร์ไทย เป็นอย่างไร และทำอะไรมาบ้าง

ทดลองดูแล้วกันนะคับ